เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ชาวบ้านร่วมอนุรักษ์ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ส่งวัว ส่งเกวียน ปัดเป่าภัยแล้ง โรคภัยสิ่งไม่ดีให้พ้นหมู่บ้าน


26 เม.ย. 2567, 17:02



ชาวบ้านร่วมอนุรักษ์ประเพณีทำบุญกลางบ้าน ส่งวัว ส่งเกวียน ปัดเป่าภัยแล้ง โรคภัยสิ่งไม่ดีให้พ้นหมู่บ้าน




ชาวบ้านหมู่บ้านหนองกา จ.ประจวบฯ ร่วมกันอนุรักษ์ประเพณีทำบุญกลางบ้าน (ส่งวัว ส่งเกวียน) เป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ความเชื่อหากหมู่บ้านใดที่บรรพบุรุษเคยทำบุญกลางบ้าน แล้วคนรุ่นต่อมาไม่สืบทอดจะทำให้หมู่บ้านเกิดภัยพิบัติ เกิดโรคร้ายกับคนในครอบครัวจะเจ็บไข้ แต่ถ้าทำเป็นประจำทุกปีหมู่บ้านก็จะเป็นศิริมงคล

ที่บริเวณกลางหมู่ บ้านหนองกา ม.7 ต.ปราณบุรี จ.ประจวบ ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ในหมู่บ้านจะมีการนัดประชุมกันปรึกษาหารือเรื่องการทำพิธีสืบสานประเพณีการทำบุญกลางบ้าน ส่งวัวส่งเกวียน ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน สันนิษฐานจากคำบอกเล่าในการสืบค้นอาจมีมานานกว่า ๑๐๐ ปี มาแล้ว เป็นประเพณีที่เกิดจากความเชื่อ หากหมู่บ้านใดที่บรรพบุรุษเคยทำบุญกลางบ้าน แล้วคนรุ่นต่อมาไม่สืบทอดจะทำให้หมู่บ้านเกิดภัยพิบัติ โรคร้าย คนในครอบครัวจะเจ็บไข้ แต่ถ้าทำเป็นประจำทุกปีหมู่บ้านก็จะเป็นศิริมงคล อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาหากิน ค้าขาย หรือทำการใด ๆ ก็จะประสบผลสำเร็จ มีคติความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญกลางบ้านว่าเป็นการส่งเครื่องบรรณาการให้แก่บรรพบุรุษ นางไม้ เทพยดาที่ปกปักรักษาหมู่บ้าน โดยจะนำวัว เรือ เกวียน และกะบานซึ่งเป็นเครื่องส่งตามประเพณีไปวางไว้ที่ทางสามแพร่ง

 

 

 



ในอดีตการทำบุญกลางบ้านจะใช้ศาลากลางหมู่บ้านของชุมชนเป็นสถานที่ในการทำบุญ หรือทำกิจกรรมใด ๆ ร่วมกัน เป็นศูนย์รวมจิตใจ และศูนย์รวมในการทำกิจกรรมของคนในหมู่บ้านโดยมีผู้นำหมู่บ้านจะเป็นแกนนำในการทำกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรมทางศาสนา อาทิ วันสำคัญต่าง ๆ หากหมู่บ้านใดไม่มีศาลากลางบ้านก็มักจะใช้ลานกว้างกลางหมู่บ้าน หรืออาจเป็นลานนวดข้าวที่อยู่กลางหมู่บ้านก็ได้ และมักใช้สถานที่นั้น ๆ เป็นสถานที่ทำบุญต่อ ๆกันมาเป็นประจำทุกปี

โดยเครื่องประกอบพิธีกรรม มีอาหารคาวหวาน สำหรับถวายพระภิกษุสงฆ์ เกวียนจำลอง ทำด้วยไม้ไผ่ วัวจำลอง ทำด้วยไม้ไผ่ -กะบาน เป็นภาชนะรูปสีเหลียมจัตุรัส ทำด้วยกาบกล้วย จะไส่ข้าวสารหรือข้าวเปลือก เกลือ พริก หอม กระเทียม ห่อกระดาษ จำนวน ๔ ห่อ สำหรับใส่ เกวียน วัว และกะบาน

ก่อนที่จะถึงวันงานทำบุญกลางบ้าน ประมาณ 1-3 วัน จะมีชาวบ้านที่มีความสามารถทำเกวียนจำลองที่มีเหลืออยู่ไม่กี่คน ชักชวนกันไปตัดไม้ไผ่ในป่าของหมู่บ้านซึ่งปัจจุบันเริ่มไม้ไผ่อยากมากขึ้น มาทำเป็นเกวียนจำลอง ที่เป็นส่วนหนึ่งพิธี เมื่อได้มาแล้วก็นำมาตัดให้ได้ความยาวประมาณ 70-100 ซ.ม. มาเจาะเป็นช่อง 2 ส่วนหัวเกวียนก็จะตัดแต่งให้เหมือนแอก และลูกแอก คือ คานไม้ที่วางพาดขวางสำหรับผูกวัว เมื่อเสร็จแล้วก็นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม

เมื่อถึงวันงานช่วงเช้าชาวบ้านทั้งหมดในหมู่บ้านเดินทางมาร่วมงานทำบุญที่กลางหมู่บ้าน ต่างพาลูกจูงหหลานถือหิ้วปิ่นโตที่ใส่อาหาร คาวหวานสำหรับถวายพระภิกษุสงฆ์ จากนั้นก็นำเกวียนจำลองที่นำมาวางร่วมกันโดยภายในพิธี ซึ่งเกวียนแต่ละคันจะทำกระบานเป็นภาชนะรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำด้วยกาบกล้วย เจ้าของจะเอาข้าวสาร อาหารแห้ง ใส่ไว้ในเกวียนและมีหุ่นดินเหนียวชายหญิงวางไว้ พร้อมนำเอารายชื่อของคนในครอบครัว สัตว์เลี้ยงต่างๆเขียนลงในกระดาษแล้วใส่ไปด้วย

เมื่อถึงเวลาจะนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระพุทธมนต์เสร็จ จะมีตัวแทนชาวบ้านแห่วัว เกวียน เรือ และกะบานไปวางที่ทางสามแพร่งของหมู่บ้าน โดยขณะที่เดินแห่ไปก็จะโห่สามลา และมีคนหนึ่งถือขันน้ำมนต์ที่ได้จากการประกอบพิธีสงฆ์ ประพรมไปตลอดทางจนถึงทางสามแพร่งของหมู่บ้านที่เคยนำวัว เกวียน เรือ และกะบานไปวาง เพื่อบอกให้เทพยดารับรู้ว่าบ้านที่ได้ทำบุญกลางบ้านแล้ว

 

 

 


นางสนม สุขอิ่ม ชาวบ้านที่ร่วมทำเกวียนจำลอง กล่าวว่า เดิมที่เป็นคนเพชรบุรี ย้ายมาอยู่ที่นี่ได้ 46 ปี ตั้งแต่ที่ย้ายมาก็มาร่วมเป็นครั้งที่ 6 การทำบุญกลางบ้าน ส่งวัวส่งเกวียนจะทำทุกๆ 5 ปี 8 ปีครั้งหนึ่ง แต่ครั้งเวลาผ่านมา 7 ปี ซึ่งไม่เกี่ยวกับติดโควิดพอเจอแล้งจัดหรือว่าวัวควายเริ่มมีเจ็บป่วย เราก็จะทำพิธีส่งวัวเกวียนส่งโรคส่งภัยไป ให้พ้นจากหมู่บ้าน การเตรียมตัวของชาวบ้านที่คิดว่าจะทำวัวทำเกวียนเขาก็ไปตัดไม้ไผ่มาแล้วก็ชาวบ้าน เพื่อนบ้านก็มาช่วยกันเลื่อยไม้ทำเป็นรูปเกวียน คนหนึ่งเลื่อยไม้อีกคนนึงเจาะอีกคนนึงทำเป็นวัวที่เหลือก็มาช่วยกันผูกเชือกจนประกอบมาเป็นเกรียน ช่วยกันติดดอกไม้ดอกไร่ติดกระดาษให้มีความสวยงามมาก

เกวียนที่เราทำมีความหมายคือมันเป็นความเชื่อของคนในหมู่บ้านคนเก่าคนแก่ เชื่อว่าการส่งวัวส่งเกรียนแบบนี้แล้ว โรคภัยของวัวควาย จะได้เบาบางลงไปก็รวมถึงภัยแล้งด้วย ฝนฟ้าก็ไม่มีด้วย ที่เราได้ทำเรารู้สึกดีใจสบายใจที่ได้ช่วยกันทำ ชอบด้วยพอรู้ว่าก็อยากมาร่วมแต่เข้ามาช่วยเขาทำซึ่งเราก็เคยเห็น อยากจะสืบสานตามรอยไม่อยากให้มันสูญหายไป อยากจะบอกเยาวชนรุ่นลูกๆการสืบสานวัฒนธรรมแบบนี้ต่อไป

นายจำลอง สุขอิ่ม ผู้สูงอายุที่รู้ประเพณี กล่าวว่าประเพณี การส่งวัวส่งเกวียนมีมานานร้อยกว่าปี ก่อนที่จะจัดงานได้มีการประชุมหมู่บ้านกันก่อน ซึ่งจะมีการกำหนดวัน เวลา ว่าจะให้มีการสวดมนต์ตอนไหน และกำหนดเวลานำวัวเกวียนจำลองพากันออกไปวางที่นอกบ้านตามทางสามแพร่ง การทำบุญกลางบ้านมีวัตถุประสงค์เพื่อให้หมดโรคหมดภัยจากหมู่บ้าน ซึ่งในเกวียนจะมีทุกอย่าง ข้าวปลาอาหารมีครบ ลากไปส่งที่ทางสามแพร่ง ทำให้คนในหมู่บ้านไม่ค่อยมีคนเจ็บไข้

 

 

 

 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.