เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



เปิดผลสอบ ! "ร.ล.สุโขทัยล่ม" อากาศเปลี่ยน-คลื่นสูง "ผู้การเรือฯ" ลาออก แสดงความรับผิดชอบ


10 เม.ย. 2567, 09:23



เปิดผลสอบ ! "ร.ล.สุโขทัยล่ม" อากาศเปลี่ยน-คลื่นสูง  "ผู้การเรือฯ" ลาออก แสดงความรับผิดชอบ




เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ แถลงที่หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 9 เมษายน ถึงผลสอบสวน กรณี “เรือหลวงสุโขทัย” อับปางในทะเล จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2565 เป็นเหตุให้กำลังพลเสียชีต 24 ราย และสูญหาย 5 ราย ว่า วันเกิดเหตุคลื่นลมแรง มีเรือล่มใกล้กัน 7 ลำ โดยข้อมูลจากวิดีทัศน์ระบุว่า สาเหตุที่ทำให้เรือหลวงสุโขทัยอับปาง ข้อมูลสำคัญมาจากสภาพอากาศและคลื่นลม สภาพอากาศแปรปรวน เปลี่ยนแปลงฉับพลัน รุนแรงคลื่นสูง 6 เมตรจนทำให้เรือหลวงสุโขทัยล่ม เป็นคืนเดือนมืดเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น มีข้อจำกัดในการช่วยเหลือ และคลื่นลมแรงทำให้ลูกเรือถูกพัดกระจายตัวออกไป และเป็นอุปสรรคในการเอาชีวิตรอด

ด้าน พล.ร.ต.อภิรมย์ เงินบำรุง เจ้ากรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค และคณะกรรมการสอบสวนระบุว่า เรือจมมาจากการที่น้ำเข้าเรือจาก 2 กรณี คือ 1.จากทางท้องเรือทำให้สูญเสียกำลังลอย 2.น้ำเข้าทางด้านบนเหนือจุดศูนย์ถ่วงของเรือทำให้เรือเอียง สุดท้ายทำให้ทราบว่า เรือหลวงสุโขทัยเอียงก่อนโดยน้ำเข้าทางดาดฟ้าและจากนั้นจึงจมทางท้ายเรือ




บทสรุปการอับปาง 1.เรือรั่วหลายจุด 2.สภาพคลื่นลมที่มีความรุนแรงขึ้นอย่างฉับพลัน รวมถึงเรือหลวงสุโขทัยเก่าโดยใช้งานไปกว่า 30 ปี 3.เกิดความเสียหายในตำแหน่งที่ทำให้น้ำเข้าสู่ห้องเรือ 4.เมื่อเรืออยู่ในสภาวะเอียง น้ำทะเลเข้าทางช่องระบายอากาศต่อเนื่อง และไหลเข้าเครื่องจักรใหญ่ และส่วนท้าย 5.เรือสูญเสียการทรงตัวตั้งแต่เวลา 15.00 น.จนจม เวลา 24.00 น.ใช้เวลา 9 ชั่วโมง แสดงว่า การผนึกน้ำทำได้ดี แต่น้ำเข้าจากช่องทางอื่น 6.การป้องกัน การตรวจสอบสาเหตุน้ำเข้า ไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะคลื่นลมแรง จึงต้องพยายามนำน้ำออก เกิดการชำรุดของเครื่องจักรใหญ่ ระบบไฟฟ้าลัดวงจร ไฟไหม้ ทำให้การแก้ไขทำได้ยาก กรณีไฟดูดต้องตัดไฟ ทำให้สูบน้ำออกจากเรือไม่ได้ สู้กับน้ำที่เข้ามาไม่ได้ยอมรับตัดสินใจพลาด นำเรือกลับสัตหีบ

พล.ร.ท.สุรศักดิ์ สิงขรวัฒน์ คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ทัพเรือภาคที่ 1 กล่าวว่า 1.ความพร้อมของเรือก่อนการส่งมอบ ภายหลังการซ่อมบำรุงปี 2564 ทดสอบแล้วพบว่า ทำตามมาตรฐาน 2.เสื้อชูชีพเบิกจ่ายไป 120 ตัว กำลังพล 105 นาย เสื้อชูชีพเพียงพอกับกำลังพล และประกาศให้กำลังพลสมทบไปรับเสื้อชูชีพ กำลังพลสมทบไม่ได้ไปรับเสื้อชูชีพ และกำลังพลบางส่วนไม่สามารถลงไปใส่เสื้อชูชีพได้ แพชูชีพจำนวน 6 แพ อยู่บริเวณทางกราบซ้าย-ขวา เมื่อเกิดเหตุสามารถปลดเรือชูชีพกาบขวาได้ 2 แพ อีก 4 แพ อยู่ในพื้นที่อันตรายเข้าถึงยาก เมื่อเรืออับปาง เรือชูชีพทั้งหมดจึงหลุดออกจากที่ติดตั้ง ยังพบว่า ผู้บังคับการ

รล.สุโขทัย ระบุว่า ภารกิจนี้ไม่ใช่ภารกิจรบเต็มรูปแบบจึงจัดกำลังเพียง 75 นายจาก 100 นาย รวมถึงจัดที่พักอาศัยบนเรือให้หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งรวม 30 นาย เมื่อไปถึงภาวะที่ต้องปฏิบัติงานที่ภาวะคลื่นลมรุนแรง ทำให้ประสิทธิภาพลดลงและต้องปกป้องความเสียหายหลายสถานที่พร้อมกันจึงทำให้ทำได้อย่างจำกัด การตัดสินใจนำเรือกลับฐานทัพเรือสัตหีบ ผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย ตัดสินใจนำเรือกลับฐานทัพสัตหีบ จ.ชลบุรี แม้ว่าจะไกล และใช้เวลามากว่านำเรือเข้าเทียบท่าประจวบฯ แต่ตัดสินใจเพราะคลื่นลมหน้าท่ารุนแรง หากนำเรือเทียบท่าจะไม่สามารถจัดเรือลากจูงเข้าสนับสนุนการเทียบเรือได้ การเข้าเทียบอาจเกิดอันตราย รวมถึงเวลานั้นยังไม่ได้ข้อมูลว่าแผ่นกันคลื่นฉีกขาดและหากนำเรือพ้นพื้นที่ใกล้ฝั่ง คลื่นลมอาจเบาบางลง ซึ่งเป็นการตัดสินใจภายใต้ข้อมูลจำกัด

อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับการ รล.สุโขทัย ตัดสินใจนำเรือกลับฐานทัพเรือสัตหีบ ที่มีระยะทางไกลและใช้เวลานานมากกว่าการนำเรือเข้าท่าเรือประจวบฯ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยขาดความรอบคอบ จึงเชื่อว่า การอับปางเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ เป็นการใช้ดุลยพินิจ โดยขาดความรอบคอบ ทำให้เกิดความเสียหาย เป็นความผิดตาม มาตรา 5 ตาม พ.ร.บ.วินัยทหาร พ.ศ.2476 เห็นสมควรลงทัณฑ์ กักเต็มอำนาจการลงทัณฑ์ ของ ผบ.ทร.เป็นเวลา 15 วัน ขณะที่คดีอาญาอยู่ในขั้นตอนของ ตำรวจ สภ.บางสะพานจ.ประจวบคีรีขันธ์


พล.ร.อ.ชัยณรงค์ บุณยรัตนกลิน คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ความรับผิดชอบทางละเมิด ระบุว่า เมื่อเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของทางราชการ ต้องหาผู้ต้องรับผิด กรณีจงใจ หรือปฏิบัติเลินเล่ออย่างร้ายแรง การตัดสินใจของ ผู้บังคับการเรือ เป็นดุลยพินิจที่สามารถทำได้ และไม่ได้จงใจให้เรือหลวงสุโขทัยอับปางจึงไม่เข้าเงื่อนไข ในการรับผิดทางละเมิด ตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการปฏิบัติความเสียหายที่เกิดกับทางราชการ หรือทรัพย์สินของทางราชการ อันเนื่องมาจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ ดังนั้น ผบ.และเจ้าหน้าที่จึงไม่ต้องชดใช้ความเสียหายทางแพ่ง

น.ท.พิชิตชัย เถื่อนนาดี อดีตผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัย กล่าวตอนหนึ่งว่า หลังตัดสินใจนำเรือกลับ สภาพอากาศแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันเลวร้ายกว่าเดิม การตัดสินใจเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่รอบคอบ ขอแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ต่างๆ ขอยอมรับโทษตามกองทัพเรือภาคที่ 1 และผู้บังคับบัญชาระดับสูงจะเห็นควร นอกจากนี้แล้วหลังจากเรื่องทุกอย่างเสร็จสิ้น ขอลาออกจากกองทัพเรือ ที่เป็นถิ่นกำเนิดและบ้านเกิดการอบอุ่นของตนและเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรวมถึงเป็นการดำรงไว้ซึ่งเกียรติและตำแหน่งผู้บังคับการเรือหลวงสุโขทัยที่ทหารเรือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ดำรงมา


คำที่เกี่ยวข้อง : #ร.ล.สุโขทัยล่ม   #ผู้การเรือฯ   #ลาออก  




Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.