เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขยายผล การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 76 จังหวัด 76 โมเดล


12 มี.ค. 2567, 17:09



อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขยายผล การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 76 จังหวัด 76 โมเดล





 
วันที่ 12 มีนาคม  2567ชึ่งในงานนี้มี ว่าที่พันตรี  อดิศักดิ์  น้อยสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ  และนายเสนีย์  ส้มเขียวหวาน  รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เดินทางไปร่วมพิธีในงานด้วย ณ ไร่ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม 189 หมู่ที่  5  ตำบลหนองเม็ก  อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ในโครงการ 76จังหวัด 76โมเดล  การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง ภายใต้หลักการ"นวัฒกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานล่าง" 
 
โดยนายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า กรมวิชาการเกษตร ขยายผล การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง 76 จังหวัด 76 โมเดล 
ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม “นวัตกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานล่าง” 
จากการผลิตผักอินทรีย์มูลค่าสูง สร้างรายได้ด้วยการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ 
มูลค่าการผลิตกว่า 3.8 ล้านบาท/ไร่/ปี 

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำ โครงการ 76  
จังหวัด 76 โมเดล การผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง เพื่อเป็นการถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จการผลิตสินค้าเกษตร 
มูลค่าสูงจากเกษตรกรต้นแบบ 76 จังหวัดทั่วประเทศ สอดรับกับหลักการ ประชาชนต้องอยู่ดีกินดี สินค้าเกษตร 
ต้องมีมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรต้องยั่งยืน ตามนโยบายของ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวง 
เกษตรและสหกรณ์  

งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี 76 จังหวัด 76 โมเดล การผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง ภาค 
ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่จัดขึ้นในวันนี้เป็นโมเดลที่ชนะเลิศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่ทำ 
การคัดเลือกจากเกษตรกร 9 จังหวัดในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยใช้แนวทางตลาดนำ นวัตกรรม 
เสริม เพิ่มรายได้โดยมีโมเดลที่ชนะเลิศคือ “นวัตกรรมผักอินทรีย์โมเดลสู่เศรษฐีอีสานล่าง” ของคุณศุภชัย มิ่ง 
ขวัญ ไร่ภูตะวันออร์แกนิคฟาร์ม บ้านหนองเม็ก ตำบลคึมใหญ่อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งมีมูลค่าการ 
ผลิตกว่า 3.8 ล้านบาท/ไร่/ปี 
ไร่ภูมิตะวันออร์แกนิคฟาร์ม เป็นการจัดการโดยใช้หลักการ “ตลาดนำการผลิต” โดยทำการเกษตร 
แบบรวมกลุ่มแบบเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อให้มีอำนาจต่อรอง และที่สำคัญได้ให้สมาขิกในกลุ่ม ได้ปรับเปลี่ยนวิธี 
คิด จากการผลิตแบบพอเพียงมาทำการผลิตเชิงพาณิชย์ จากอาชีพรองมาเป็นอาชีพหลัก เข้าถึง และยอมรับ 
นวัตกรรมสมัยใหม่ โดยทำการผลิตพืชผักตระกูลสลัดแบบประณีตที่ได้รับรองมาตรฐานอินทรีย์ จำหน่ายทั้งใน 
รูปแบบผักสด และเมล็ดพันธุ์ผักภายในโรงเรือน ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน เตรียม 
พืช การจัดการธาตุอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของพืช การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ดีจนสามารถขาย 
ผักอินทรีย์ และเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์คุณภาพสูง โดยทางคุณศุภชัย ได้มีการนำความรู้ตามหลักวิทยาศาสตร์ 
เกษตร มาปรับปรุงพันธุ์ผัก อาทิ ผักสลัดกรีนครอส เรดครอส เมเลน และได้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ในระบบ 
โรงเรือนอินทรีย์ตามแนวคิด “ทำเกษตรด้วยหลักวิทยาศาสตร์ แปลงผลิตได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์  
และตั้งราคาจำหน่ายเมล็ดพันธุ์แบบเกษตรกรเข้าถึงได้” จนสามารถสร้างรายได้จากการผลิตเมล็ดพันธุ์ 
คุณภาพสูงในราคากิโลกรัมละ 30,000 บาท

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมายกองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช  
เข้ามาบริการแบบเบ็ดเสร็จด้านธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ พัฒนาเข้าสู่ระบบเมล็ดพันธุ์อินทรีย์ อาทิ การขึ้นทะเบียน 
พันธุ์ การรับรองสายพันธุ์ รับรองแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์ รวมถึงการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี 
การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์มูลค่าสูง การยกระดับคุณภาพเมล็ดพันธุ์ด้วยการเคลือบ และพอกเมล็ดพันธุ์ ซึ่ง 
เป็นการช่วยในปรับปรุงคุณภาพเมล็ดพันธุ์ผักอินทรีย์  

นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรยังได้เข้ามาสนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการ 
จัดการศัตรูพืช โดยการใช้ชีวภัณฑ์ต่างๆ อาทิ ใช้ชีวภัณฑ์ Bacillus thuringiensis (BT) ในการจัดการหนอน 
กระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม หนอนใยผัก ใช้ชีวภัณฑ์ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย ในการจัดการด้วงหมัดผัก ใช้ชีวภัณฑ์ 
บิวเวอร์เรีย หรือเมตาไรเซียมเชี้อสด ในการจัดการเพลี้ยอ่อน การใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีในการรองก้นหลุม 
ป้องกันโรครากปม และใช้ชีวภัณฑืไตรโคเดอร์มา จัดการโรครากเน่าโคนเน่า ทำให้เกษตรกรมีความเชี่ยวชาญ มี 
องค์ความรู้ จนสามารถขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียง ครอบลุมพื้นที่ทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีสมาชิก 
เครือข่าย จำนวน 105 ครัวเรือน พื้นที่เพาะปลูกผักอินทรีย์ จำนวน 400 ไร่ มีโรงเรือนปลูกผักทั้งหมด จำนวน 305  
โรงเรือน ผลผลิตผักอินทรีย์ออกสู่ตลาดเฉลี่ย 25 – 30 ตันต่อเดือน 

สำหรับกิจกรรมภายในงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี 76 จังหวัด 76 โมเดล ประกอบด้วย แปลงสาธิต  
นิทรรศการแปลงต้นแบบระดับเขต และระดับจังหวัด จำนวน 9 ต้นแบบ กิจกรรมการเสวนาระหว่างผู้ผลิตและ 
ตลาดรับซื้อ เรื่อง “ไขความลับการผลิตพืชมูลค่าสูงสู่เศรษฐีอีสานล่าง” ฐานการเรียนรู้ โมเดลการผลิตผักอินทรีย์ 
มูลค่าสูง จำนวน 4 ฐาน หน่วยบริการคลินิกพืชเคลื่อนที่ นิทรรศการกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ การผลิตและการใช้ 
ชีวภัณฑ์และปุ๋ยชีวภาพในการผลิตพืช การผลิตพืชตามมาตรฐาน Organic Thailand/GAP การให้ความรู้ด้าน  
พรบ. ที่เกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตร และการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม การรู้จักดินรู้จักปุ๋ย  
กิจกรรม ชิม ช้อป ชม ผลิตภัณฑ์การเกษตร จากเกษตรกรต้นแบบและกลุ่ม young smart farmer และกิจกรรม 
แจกจ่ายพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิตให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน ได้แก่ เกษตรกร ประชาชน ข้าราชการ พนักงาน บุคลากร 
ภาครัฐและนักเรียน นักศึกษา จำนวน 300 ราย 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า กรมวิชาการเกษตรมีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งในการ 
ดำเนินโครงการ 76 จังหวัด 76 โมเดล ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเห็นผลในเชิงประจักษ์ให้เกษตรกร 
และกลุ่มเกษตรกรสร้างอาชีพ และรายได้จากการทำเกษตรปลอดภัยมูลค่าสูง และต่อยอดการผลิตผักเพื่อ 
บริโภคสู่การเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ เพื่อสร้างรายได้สูง และความมั่นคงยั่งยืนของเกษตรกรต่อไป/
 









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.